ฉลากใหม่ โคคา-โคล่า มาพร้อมข้อความ “โปรดรีไซเคิล” ชวนคนไทยแยกขยะตั้งแต่ต้นทาง
Brand Story

ฉลากใหม่ โคคา-โคล่า มาพร้อมข้อความ “โปรดรีไซเคิล” ชวนคนไทยแยกขยะตั้งแต่ต้นทาง

Focus
  • ข้อความ “โปรดรีไซเคิล” คือการปรับดีไซน์บรรจุภัณฑ์ใหม่ของ กลุ่มธุรกิจ โคคา-โคล่า ภายใต้แนวคิด Recycle Me ชวนคนไทยมาแยกขยะตั้งแต่ต้นทาง
  • ที่ผ่านมามีบรรจุภัณฑ์มากมายไม่ถูกนำกลับมาสู่กระบวนการรีไซเคิล ซึ่งหนึ่งในสาเหตุมาจากการขาดการแยกขยะตั้งแต่ต้นทาง ทำให้บรรจุภัณฑ์ที่ผ่านการใช้งานแล้วสกปรก ไม่สามารถถูกนำกลับมาสู่กระบวนการรีไซเคิลแบบ 100 เปอร์เซ็นต์

ไม่ต้องแปลกใจหากตอนนี้จะเจอผลิตภัณฑ์ใน กลุ่มธุรกิจ โคคา-โคล่า ซึ่งประกอบไปด้วย บริษัท ไทยน้ำทิพย์ จำกัด บริษัท หาดทิพย์ จำกัด (มหาชน) และ บริษัทโคคา-โคล่า (ประเทศไทย) จำกัด เปลี่ยนไป พร้อมฉลากดีไซน์ใหม่ที่เพิ่มข้อความ โปรดรีไซเคิล ลงไปบนกระป๋อง และขวดพลาสติก เพื่อให้ผู้บริโภคได้เห็นอย่างชัดเจน ต่อยอดสู่กระบวนการแยกขยะต้นทาง

ข้อความ โปรดรีไซเคิล คือการปรับดีไซน์บรรจุภัณฑ์ใหม่ภายใต้แนวคิด Recycle Me ซึ่งไม่ใช่เฉพาะในไทยแต่ยังปูพรมเปลี่ยนฉลากทั่วภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งประสบปัญหาคล้ายกันเรื่องหนึ่งนั่นก็คือการแยกขยะต้นทางที่จะถูกส่งต่อไปยังกระบวนการรีไซเคิล ทำให้กระป๋องรวมถึงพลาสติก PET ที่ถูกนำมาทำเป็นบรรจุภัณฑ์ไม่ได้กลับคืนสู่ระบบรีไซเคิลแบบ 100 เปอร์เซ็นต์ ทั้งนี้ทางกลุ่มธุรกิจโคคา-โคล่าตั้งเป้าปรับเปลี่ยนบรรจุภัณฑ์เครื่องดื่มน้ำอัดลมทุกแบรนด์ในประเทศไทยทั้งหมดภายในสิ้นปี 2564

โคคา-โคล่า

“โคคา-โคล่าเชื่อว่าบรรจุภัณฑ์ที่ผ่านการใช้งานแล้วไม่จำเป็นต้องกลายเป็นขยะหากได้รับการจัดการที่เหมาะสมตั้งแต่ต้นทาง เพื่อนำเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิล เราตระหนักดีว่าการกระตุ้นเตือนให้ทุกคนหันมาช่วยกันแยกขยะและรีไซเคิลผ่านข้อความบนบรรจุภัณฑ์จะสามารถช่วยสร้างการรับรู้ในหมู่ผู้บริโภคได้ระดับหนึ่ง แต่เราจะต้องผลักดันให้การรับรู้นี้พัฒนาไปสู่การปรับพฤติกรรมในระยะยาวด้วย” นันทิวัต ธรรมหทัย ผู้อำนวยการองค์กรสัมพันธ์ การสื่อสาร และความยั่งยืน บริษัทโคคา-โคล่า (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวถึงที่มาของการดีไซน์ฉลากใหม่

โคคา-โคล่า
นันทิวัต ธรรมหทัย ผู้อำนวยการองค์กรสัมพันธ์ การสื่อสาร และความยั่งยืน บริษัท โคคา-โคล่า (ประเทศไทย) จำกัด

ทั้งนี้หนึ่งในเป้าหมายหลักของดีไซน์ใหม่คือคือการจัดเก็บบรรจุภัณฑ์เพื่อนำกลับมารีไซเคิลในปริมาณเทียบเท่ากับปริมาณที่จำหน่ายออกสู่ตลาดให้ได้ 100 เปอร์เซ็นต์ ก่อนปี พ.ศ.2573 ทว่าที่ผ่านมาได้พบปัญหาว่า บรรจุภัณฑ์เหล่านี้ไม่ถูกนำกลับมาสู่กระบวนการรีไซเคิล ซึ่งหนึ่งในสาเหตุมาจากการขาดการแยกขยะตั้งแต่ต้นทาง ทำให้บรรจุภัณฑ์ที่ผ่านการใช้งานแล้วสกปรกจากการถูกทิ้งปะปนกับขยะประเภทอื่นๆ และท้ายสุดก็ไม่สามารถถูกนำกลับมาสู่กระบวนการรีไซเคิลแบบ 100 เปอร์เซ็นต์ แม้ตัวบรรจุภัณฑ์ที่มีอยู่ เช่น กระป๋องโค้ก หรือขวดสไปรท์จะสามารถนำกลับมารีไซเคิลได้แบบ 100 เปอร์เซ็นต์ก็ตาม

Fact File

  • โคคา-โคล่า ยังมีแคมเปญพิเศษร่วมกับสตาร์ทอัปด้านจัดการขยะ Trash Lucky จัดแคมเปญ โค้กชวนแยก แลกลุ้นโชคกับ Trash Lucky ชวนแยกขยะไม่จำกัดแบรนด์เพื่อร่วมสนุกลุ้นรับรางวัล แบ่งเป็นขวดแก้ว กระดาษ กระป๋องอลูมิเนียม และชวดพลาสติด โดยในส่วนของขยะพลาสติกส่วนหนึ่งที่ส่งมายัง Trash Lucky จะมีการประสานต่อไปยัง อินโดรามา เวนเจอร์ส ทำการรีไซเคิลขวด PET เปลี่ยนเป็นชุด PPE มอบแก่บุคลากรด่านหน้าจำนวน 1,500 ชุด โดยขวด PET จำนวน 18 ขวด สามารถนำมาเปลี่ยนเป็นชุด PPE ได้ 1 ชุด ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2564 จนถึงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2564
  • รายละเอียดเพิ่มเติม https://trashlucky.com/recycleme/

Author

กองบรรณาธิการ
กองบรรณาธิการ Sarakadee Lite