เงินติดล้อ กับภารกิจด่วนติดล้อขอเป็นอีกแรงหนุน สู้โควิด-19
Better Living

เงินติดล้อ กับภารกิจด่วนติดล้อขอเป็นอีกแรงหนุน สู้โควิด-19

Focus
  • หลังจากที่รัฐบาลเปิดลงทะเบียนเยียวยาผู้ที่ประสบปัญหาจากวิกฤติโควิด-19 เงินติดล้อก็อาศัยสาขาที่กระจายอยู่เกือบทั่วประเทศ เปิดบริการใหม่ให้คนทั่วไปได้เข้ามาใช้อินเทอร์เน็ต วายฟายฟรี พร้อมให้คำแนะนำในการลงทะเบียนรับเงินช่วยเหลือ 5,000 บาท ลงทะเบียนรับเงินมิเตอร์ไฟฟ้า
  • ล่าสุด เงินติดล้อร่วมมือกับพันธมิตรภาคเอกชน ขอเป็นสื่อกลางบอกต่อตำแหน่งงานว่าง โดยใช้สาขาที่กระจายอยู่ทั่วภูมิภาคเป็นศูนย์กลางในการส่งต่อความช่วยเหลือเหล่านี้

แม้ไม่รู้ว่าวิกฤติโควิด-19 จะจบลงอย่างไร และจบลงที่ตรงไหน แต่สิ่งหนึ่งที่กำลังเกิดขึ้นและเห็นได้ชัดเจนในตอนนี้คือความร่วมมือร่วมใจของประชาชนและภาคเอกชนต่างๆ ที่ช่วยกันทำทุกวิถีทางให้ชีวิตได้หมุนไปต่อ และหนึ่งในธุรกิจที่กระโดดเข้ามาเป็นกองหนุนตั้งแต่เริ่มต้นวิกฤติจนถึงตอนนี้ก็ยังทำอยู่อย่างเงียบๆ คือ เงินติดล้อ กับภารกิจด่วนติดล้อกระจายความช่วยเหลือเท่าที่จะทำได้สู่คนรอบข้าง ต่อให้ไม่ได้เป็นลูกค้าก็สามารถเข้ามาใช้บริการได้ ไม่ว่าจะเป็นการเปิดสาขาให้คนทั่วไปได้เข้ามาใช้อินเทอร์เน็ต วายฟายฟรี พร้อมให้คำแนะนำในการลงทะเบียนรับเงินช่วยเหลือ 5,000 บาท ลงทะเบียนรับเงินมิเตอร์ไฟฟ้า และล่าสุดกับการเป็นสื่อกลางบอกต่อตำแหน่งงานว่าง โดยใช้สาขาที่กระจายอยู่ทั่วภูมิภาคเป็นศูนย์กลางในการส่งต่อความช่วยเหลือเหล่านี้

เงินติดล้อ

“ต้องของเท้าความถึงเงินติดล้อนิดหนึ่งว่าเราเป็นบริษัทที่ใช้ความเชื่อในการทำธุรกิจ โดยมีเจตนารมย์ในการทำงานคือสร้างโอกาสทางการเงินให้คนที่เข้าไม่ถึงสถาบันการเงินหลัก เราเป็น Non-Bank ที่ใกล้ชิดกับลูกค้าที่เป็นพ่อค้า แม่ค้า คนขับรถ วินมอเตอร์ไซค์คนทั่วไปซึ่งเขาอาจจะมีข้อจำกัดในการเข้าถึงการบริการของสถาบันการเงินหลัก

“ และหลังจากที่โควิด-19 เกิดขึ้น หลังจากที่ภาครัฐออกมาตรการเยียวยา เราก็เริ่มเห็นปัญหาที่เกิดขึ้นกับกลุ่มลูกค้าของเราก่อนเลย เช่น การเข้าไม่ถึงอินเทอร์เน็ตเข้าเว็บไซต์ไม่เป็น ลงทะเบียนไม่ถูก ไหนจะมีเว็บไซต์ปลอมต่างๆ มาอีก เราก็เลยคุยกันว่าชาวติดล้อเราจะช่วยอะไรได้บ้าง เรามีเทคโนโลยี เรามีความรู้ด้านการเงิน เรามีสาขามากกว่า 1,000 สาขา ที่สำคัญเรามีความเชื่อเรื่องการช่วยเหลือเป็นเจตนารมย์ร่วมกันของชาวติดล้ออยู่แล้ว ก็เลยเปิดบริการตรงนี้ขึ้นมา เริ่มทดลองจากในกรุงเทพฯ ว่าจัดการอย่างไรที่จะปลอดภัยทั้งผู้ให้บริการและผู้รับบริการ จากนั้นก็กระจายไปยังสาขาต่างๆ”

เงินติดล้อ
กาญจน์ณัฐ เฉลิมจุฬามณี ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาบุคลากรและวัฒนธรรมองค์กรเงินติดล้อ

กาญจน์ณัฐ เฉลิมจุฬามณี ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาบุคลากรและวัฒนธรรมองค์กรเงินติดล้อ เล่าถึงที่มาที่ไปของภารกิจด่วนติดล้อที่ไม่ได้ให้บริการเฉพาะลูกค้า แต่ยังให้บริการกับคนรอบข้างที่รู้ข่าวนี้ด้วย

“ตอนที่ดูข่าวว่ารัฐบาลเปิดลงทะเบียนรับเงินเยียวยา 5,000 บาท เราก็ดูข่าว และก็มีการให้คำแนะนำลูกค้าที่มาใช้บริการอยู่ก่อนแล้วบ้าง เวลาลูกค้ามาถามเราก็ให้ความช่วยเหลือเท่าที่ช่วยได้อยู่แล้วก่อนที่บริษัทจะแจ้งมา คือรู้สึกดีมากที่บริษัทปรับมาให้บริการแบบนี้ อย่างคุณป้าที่อยู่ติดกับสาขาเขาทำไม่เป็น เราเห็นความเดือดร้อนของเขา พอเราได้ช่วยแม้จะเป็นเรื่องเล็กๆ แต่มันสำคัญกับเขาจริงๆ ถามว่ามันทำให้งานเราเพิ่มไหมก็ไม่นะคะ เพราะปกติเราก็ช่วยเหลือ พูดคุยกับลูกค้าเท่าที่เราจะช่วยได้อยู่แล้ว บริษัทจะบอกเราตั้งแต่แรกเรื่องมอบโอกาสแบ่งปัน แต่พอบริษัทออกมาย้ำว่าตอนนี้ให้เราช่วยเหลือได้เต็มที่อย่างไร เราก็บอกลูกค้าได้เลยว่า ใครลงทะเบียนไม่ได้พามาได้นะ ก็บอกกันปากต่อปาก” เจือทิพย์  เกตุนุช ผู้จัดการสาขา เล่าถึงประสบการณ์ที่ได้ช่วยเหลือลูกค้า

และจากบริการฟรีวายฟายแนะนำพร้อมเปิดรับลงทะเบียนเงินเยียวยาภาครัฐ ลงทะเบียนรับเงินประกันค่ามิเตอร์ไฟฟ้าให้ฟรี ตอนนี้เงินติดล้อได้รวบรวมพันธมิตรบริษัทเอกชนต่างๆ เช่น Bonchon และ แม็คโคร พร้อมเป็นสื่อกลางบอกต่อตำแหน่งงานว่าง โดยใช้สาขาต่างๆ รวมทั้งชาวติดล้อในการกระจายตำแหน่งงานว่างเหล่านี้ ซึ่งการว่างงานถือเป็นอีกปัญหาเร่งด่วนที่กำลังเกิดขึ้นในช่วงวิกฤติโควิด-19 นี้

Fact File


Author

ศรัณยู นกแก้ว
Online Editor ที่ผ่านทั้งงานหนังสือพิมพ์ พ็อกเก็ตบุ๊ค และนิตยสาร ปัจจุบันยังคงสมัครใจเป็นแรงงานด้านการผลิตคอนเทนต์