Faces
จากราตรีลี้ลับ สู่ทิวาอันเร้นลับยิ่งกว่าในนามของ รพินทรนาถ ฐากุร

รพินทรนาถ ฐากุร เป็นที่รู้จักในฐานะศิลปิน นักเขียนชาวอินเดีย และชาวเอเชียคนแรกที่ได้รับรางวัลโนเบล สาขาวรรณกรรม เขาผู้นี้ไม่ได้น่าสนใจเพราะเขียนบทกวีตั้งแต่ 8 ขวบ แต่เขาคือนักคิดที่หมั่นศึกษาค้นคว้าตั้งคำถามกับหลากหลายประเด็นที่ค่อนข้างท้าทายนักคิดในยุคสมัยนั้น ครบถ้วนทั้งเชิงสังคม ชาตินิยม ศาสนา วิทยาศาสตร์ ปรัชญา การพัฒนาสังคม

วันเกิดของมาร์กซ์ และ วันตายของจิตร ประวัติศาสตร์ความเหลื่อมล้ำที่ยังไม่เคยคลี่คลาย

วันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ.2361 เป็นวันเกิดของ คาร์ล มาร์กซ์ นักปรัชญาผู้วิพากษ์ทุนนิยมผู้มีอิทธิพลทางความคิดเป็นแรงบันดาลใจให้กับนักเคลื่อนไหวสังคมนิยมทั่วโลก และวันเดียวกัน เดือนเดียวกันนี้ในปี พ.ศ.2509 เป็นวันมรณกรรมของ จิตร ภูมิศักดิ์ นักเขียนผู้หาญกล้าวิพากษ์ความเหลื่อมล้ำ

รำลึกการจากไป เออร์ฟาน ข่าน : ความทรงจำ และจดหมายรักใน The Lunchbox

วันที่ 29 เมษายน 2563 เออร์ฟาน ข่าน (Irrfan Khan) นักแสดงชื่อดังแห่งบอลลีวูด ได้เสียชีวิตลงด้วยวัย 53 ปี จากเนื้องอกในต่อมไร้ท่อ ณ โรงพยาบาลในเมืองมุมไบ ประเทศอินเดีย โดยก่อนหน้านี้เขาได้เข้ารับการรักษาตัวที่กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ นานถึง 2 ปี ถือเป็นการสูญเสียนักแสดงคุณภาพที่ทั่วโลกยอมรับ ไม่ว่าจะเป็น Slumdog Millionaire, Jurassic World, Life of Pi รวมทั้งหนังที่ทำให้นึกถึงชื่อ เออร์ฟาน ข่าน ในทันทีอย่าง The Lunchbox

ความตายนั้นผมไม่กลัว แต่กลัวจะเขียนเรื่องไม่จบ : พนมเทียน นักบุกเบิกนวนิยายผจญภัยไทย

ฉัตรชัย วิเศษสุวรรณภูมิ นักเขียนชื่อดังเจ้าของนามปากกา พนมเทียน ผู้ประพันธ์นวนิยายผจญภัยสุดคลาสสิคเรื่อง เพชรพระอุมา เสียชีวิตในวัย 89 ปี แต่ผลงานหลากหลายแนวตั้งแต่ จินตนิยาย อาชญานิยาย นวนิยายแนวสืบสวนสอบสวน แนวผจญภัย แนวพาฝัน ตลอดจนสาระนิยาย มากกว่า 38 เรื่อง เช่น จุฬาตรีคูณ เล็บครุฑ เห่าดง และ ศิวาราตรี จะเป็นงานประพันธ์อมตะที่ครองใจผู้อ่านยาวนานต่อไปอีกหลายทศวรรษ

ฟิล์ม พิชเญศ ชายในสูทน้ำเงินที่พักงาน ปั่นจักรยาน เที่ยวไทยในหนึ่งปี

ฟิล์ม-พิชเญศ ใจทหาร เจ้าของเพจ The Way I Bike ชายสูทน้ำเงินผู้ตัดสินใจออกจากวิถีประจำวันด้วยการให้เวลาตัวเองหนึ่งปี พักงานแล้วออกไปปั่นจักรยานเที่ยวให้ทั่วเมืองไทย ซึ่งแรงบันดาลใจเกิดจากเรื่องราวการปั่นรอบโลกที่เขาเคยอ่าน แต่สิ่งสำคัญกว่าการอ่านหาแรงบันดาลใจคือการที่เขาตัดสินใจว่า จะลงมือทำหรือไม่ทำ

พระราชประวัติ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ

2 เมษายน วันคล้ายวันพระราชสมภพ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี Sarakadee Lite ขอประมวลพระราชประวัติ พระอัจฉริยภาพของพระองค์ บอกเล่าเรื่องราวกว่า 6 ทศวรรษ “เจ้าฟ้า” ผู้เปี่ยมด้วยพระอัจฉริยภาพ

กุหลาบ สายประดิษฐ์ นักประพันธ์และนักหนังสือพิมพ์ผู้กล้าท้าอำนาจเผด็จการ

กุหลาบ สายประดิษฐ์ เจ้าของนามปากกา ศรีบูรพา นักเขียนและนักหนังสือพิมพ์ยุคบุกเบิกในตำนานผู้กล้าท้าทายอำนาจเผด็จการจนถูกจับกุมคุมขังหลายครั้งและต้องลี้ภัยการเมืองไปอยู่ต่างประเทศกว่า 15 ปี และองค์การยูเนสโกได้ยกย่องให้ กุหลาบ สายประดิษฐ์ เป็นบุคคลดีเด่นของโลก ประจำพ.ศ. 2547-2548 สาขานักเขียนและนักหนังสือพิมพ์

ดอกไม้สด : ดอกไม้กลีบบางที่หาญกล้าหยอกสังคม การเมือง ผ่านเรื่องชวนฝัน

หากเอ่ยถึงประวัติศาสตร์ของนวนิยายไทย แน่นอนว่าต้องมีชื่อชอง ดอกไม้สด หรือ ม.ล.บุปผา กุญชร แม่แบบในการสร้างสรรค์นวนิยาย “สัจนิยมกึ่งพาฝัน” เล่าเรื่องสังคม วิถีชีวิต นโยบายรัฐ สถานการณ์บ้านเมือง ผ่านนวนิยายรักพาฝัน ดอกไม้สดได้รับการขนานนามว่าเป็นหนึ่งในนักเขียนผู้บุกเบิก “นวนิยายไทย” ร่วมยุคสมัยเดียวกับ หม่อมเจ้าอากาศดำเกิง และ กุหลาบ สายประดิษฐ์

กระดาษที่บรรจุเวลาเอาไว้ของ แอนน์ แฟร้งค์ (12 มิถุนายน 1942 – 1 สิงหาคม 1944)

หวนคิดถึง แอนน์ แฟร้งค์ ในวาระครบรอบ 75 ปีของการจากไป หญิงผู้เขียนบันทึกลับข้ามศตวรรษ จากสงครามโลกครั้งที่ 2 (ศตวรรษที่ 20) สู่ โรคระบาดทั่วโลก (ศตวรรษที่ 21) บันทึกของ เด็กผู้หญิงชาวยิวคนหนึ่งในที่ซ่อนลับ สู่สายตามวลมนุษยชาติ