#เดินหลงในดงดอก ชื่อนี้คือชื่อกิจกรรม และ ปากคลอง Strike Back เป็นชื่อของโครงการที่มีบรรดานักศึกษาปริญญา โท-เอกด้านสถาปัตยกรรมจากรั้วมหาวิทยาลัยศิลปากรเป็นโต้โผ โดยผสมผสานนิทรรศการ street art การเล่นเกมไล่ล่าหา AR เข้ากับการเก็บข้อมูลชุมชนปากคลองตลาด
ชวนผู้อ่านมาปักหมุดเก็บความทรงจำถึงสงขลาผ่าน ลายแทง “อาหารสงขลาจานสุดท้าย” อาหารท้องถิ่นเฉพาะเมืองสงขลาที่เดินทางมาถึงรุ่นสุดท้าย ที่อาจจะไม่มีผู้สืบทอดอีกต่อไป
หลู่ซิ่น (Lu Hsun) นักเขียนผู้เป็นหมุดหมายสำคัญของวรรณกรรมจีนร่วมสมัย เจ้าของผลงาน ประวัติจริงของอาคิว (The True Story Of Ah Q) วรรณกรรมเล่มสำคัญที่พูดถึงการเปลี่ยนผ่านจากค่านิยมเก่าแบบขงจื้อที่มีการยึดหลักธรรมเนียมประเพณีแบบโบราณ ไปสู่โลกสมัยใหม่ที่ค่านิยมต่างๆ ถูกท้าทายจากสังคมและคนรุ่นใหม่
หลายคนรู้จัก ตูน-ณัฐธีร์ อัครพลธนรักษ์ ในชื่อของ T_047 หรือ บ้านข้าง ๆ แอคเคาต์อินสตาแกรมและแฟนเพจที่บันทึกการเปลี่ยนแปลงของท้องฟ้าและความรู้สึกนึกคิดในแต่ละวัน อีกหนึ่งบทบาทตูนเป็นทั้งนักร้องและนักแต่งเพลงของวง T_047 และ วง Yerm มีหนังสือที่เขียนและมีคาเฟ่ของตนเองชื่อ บ้านข้าง ๆ Cafe & Gallery
21 กันยายน 2563 ครบรอบการจากไปปีที่ 35 ปีของนักเขียนนิยายจีนกำลังภายในชื่อดัง โกวเล้ง ผู้ฝากผลงานเลื่องชื่อจำนวนมากและสร้างตัวละครในยุทธภพที่จับใจผู้อ่านอย่าง ลี้คิมฮวง, ชอลิ่วเฮียง, เล็กเซี่ยวหงส์ ซาเสียวเอี้ย, เซียวฮื้อยี้, และ เซียวจับอิดนึ้ง
บอส-ชยางกูร เกตุพยัคฆ์เจ้าของแอ็กเคานต์ บอสเอง ใน TikTok เป็นหนึ่งในบทพิสูจน์ว่าไม่ใช่แค่คลิปตลกถึงจะปังและพอปใน TikTok แพลตฟอร์มการสร้างวิดีโอสั้นที่มาแรงที่สุดแห่งปี ค.ศ. 2020 แต่คอนเทนต์สายอาร์ตที่ผสมผสานการวาดรูปกับเรื่องเล่าตำนานพื้นบ้านไทยก็ได้รับความนิยมได้
Portrait of Songkhla นิทรรศการเพื่อบันทึกและส่งต่อเรื่องราวความทรงจำของสงขลาจากรุ่นสู่รุ่น จัดโดย CEA (Creative Economy Agency) ร่วมกับศิลปิน ช่างภาพชาวสงขลา ตั้งแต่วันที่ 11- 27 กันยายน พ.ศ. 2563
พีค : Peak หนังสืองานวิจัยเกี่ยวกับการฝึกฝนและพัฒนาทักษะ ผลงานเขียนของ เค. แอนเดอร์ส เอริกส์สัน (K.Anders Ericsson) และ รอเบิร์ตพูล (Robert Pool) ซึ่งค้นคว้าทดลองเกี่ยวกับการฝึกฝนที่จะนำไปสู่การพัฒนาความสามารถทั้งเชิงทักษะและขีดความสามารถต่างๆ ให้ก้าวหน้าขึ้นไปกว่าที่เคย
วันที่ 15 กันยายน เป็นวันคล้ายวันเกิดของอาจารย์ศิลป์ พีระศรี หรือ “อาจารย์ฝรั่ง” ของชาวศิลปากร ผู้ที่ได้รับการยกย่องว่าเป็น “บิดาแห่งศิลปะสมัยใหม่ของไทย” และถือเป็นวันศิลป์ พีระศรี ที่บุคคลในแวดวงศิลปะร่วมรำลึกถึงศาสตราจารย์ชาวอิตาลี ผู้สร้างคุณูปการมากมายแก่วงการศิลปะของไทย