VDO

ตามหา ช่างตีเหล็กโบราณ เอกลักษณ์หนึ่งเดียวแห่งบ้านเมืองเพีย

Meet the Master คอลัมน์ใหม่ที่จะพาออกเดินทางไปตามหา Master ด้านต่างๆ เริ่มต้นด้วย ช่างตีเหล็กโบราณ เอกลักษณ์งานช่างและภูมิปัญญาแห่งบ้านเมืองเพีย อำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น ซึ่งเป็นทักษะช่างโบราณที่ใกล้สูญหาย ทว่าตอนนี้ได้รับการสืบสานฟื้นกลับมาโดยคนรุ่นใหม่ เอิร์ธ-ธรรมรัฐ มูลสาร ลูกหลานบ้านเมืองเพียที่เปลี่ยนเส้นทางเดินชีวิต เมื่อมหาวิทยาลัยไม่ใช่คำตอบ แต่มหาลัยชีวิต “โรงเรียนช่างตีเหล็ก” ที่สอนโดยปราชญ์ท้องถิ่นต่างหากที่เขาคิดว่า “ใช่” 

ช่างตีเหล็กโบราณ

“ตั้งแต่เด็กๆ เวลาดูการ์ตูน จะมีคาแรคเตอร์อยู่ตัวหนึ่งที่ไม่ว่าพระเอกหรือตัวร้ายก็จะต้องออกตามหาเพื่อหวังให้เขาผลิตอาวุธที่ดีที่สุดให้ นั่นก็คือ ช่างตีเหล็ก สำหรับผมอาชีพช่างตีเหล็กในการ์ตูนเป็นอะไรที่เท่ คูล ดูลึกลับ ตัดมาที่ชีวิตจริงเมื่อได้รู้ว่าที่บ้านเมืองเพียมีช่างตีเหล็กผมก็เลยอยากจะลองเข้าไปเรียนดู ก็เข้าไปขอเรียนเลย ตอนแรกไม่ได้คิดว่าจะเป็นอาชีพ แต่ก็สนุก และมองเห็นช่องทางที่จะพัฒนาไปได้ ทั้งทำมีดสำหรับคนเดินป่า เครื่องมือเกษตร ขนาดคันธนูที่เหมือนกันยังสามารถสร้างให้แตกต่างกันและมีมูลค่าที่สูงขึ้นได้ แล้วทำไมมีดจะทำไม่ได้ ผมก็เลยตัดสินใจเรียนรู้ต่อและยึดอาชีพช่างตีเหล็ก ตีมีดเป็นอาชีพหลัก”

ช่างตีเหล็กโบราณ

“เอิร์ธ-ธรรมรัฐ มูลสาร” ได้รับเลือกให้เป็น ต้นกล้าชุมชน โดยมูลนิธิเอสซีจี ซึ่งจะเข้ามาเติมทักษะในด้านการจัดการ การบริหาร การบัญชีให้กับเอิร์ธ เพื่อให้อาชีพช่างตีเหล็กโบราณแห่งบ้านเมืองเพียสามารถเติบโตกลายเป็นอาชีพหลักได้อย่างมั่นคง และส่งต่อความรู้สู่เยาวชนในชุมชนต่อไป ซึ่งตอนนี้เอิร์ธมีลูกทีมเป็นน้องๆ มัธยมในชุมชนที่อาศัยช่วงเวลาหลังเลิกเรียนมาเข้าโรงตีเหล็ก ผลิตทั้ง มีด จอบ เสียม คราด เครื่องมือเกษตรต่างๆ โดยผสานระหว่างเทคนิคการตีเหล็กโบราณของบ้านเมืองเพียเข้ากับงานดีไซน์ใหม่ๆ โดยหนึ่งในเหตุผลที่เอิร์ธอยากทำให้งานช่างตีเหล็กที่ทั้งร้อน ทั้งเหนื่อย และไม่ใช่อาชีพที่คนรุ่นใหม่มองหากลายเป็นอาชีพก็ด้วยเหตุผลที่ว่า

ช่างตีเหล็กโบราณ
จำรอง สุนทอง ปราญช์ชุมชนช่างตีมีดโบราณ

“ตีมีดหนึ่งด้ามกว่าจะเสร็จก็ฟังเพลงไปแล้วกว่า 30 เพลง แต่เหตุผลหนึ่งที่ยังอยากทำเพราะตอนนี้อาชีพช่างตีเหล็กแบบโบราณไม่มีใครสืบต่อแล้ว เขาก็จะใช้ของโรงงานกัน แต่ระหว่างของโรงงานกับของทำมือมันก็มีความต่างกัน อีกอย่างถ้าเราสามารถกลับมาทำงานได้ ให้น้องๆ รุ่นต่อๆ ไปในชุมชนมีอาชีพที่มั่นคงที่บ้านได้มันก็คงจะดี”