วรรณาคดี คือหนังสือเล่าเรื่องเชิงอัตชีวประวัติของ วรรณา ทรรปนานนท์ นักเขียนผู้คร่ำหวอดในยุคสมัยอันรุ่งเรืองของวรรณกรรมไทย ฝีไม้ลายมือทางวรรณกรรมระยะเวลากว่า 50 ปี
เปลี่ยนป่าก์ นวนิยายของ อนุสรณ์ ติปยานนท์ นักเขียนผู้มีผลงานนวนิยายชุดเกี่ยวข้องกับอาหารและรสชาติ เพิ่มเติมคือการจัดวางความหมายทางวรรณกรรม ในเล่มเล่าเรื่องของท่านผู้หญิงเปลี่ยน ภาสกรวงศ์ ในช่วงเวลาที่กำลังคิดจะเขียนหนังสือ แม่ครัวหัวป่าก์ หนังสือตำราทำอาหารที่เป็นเสมือนรากฐานขององค์ความรู้อาหารไทย
อำนาจของภาษาและวรรณกรรมไทย หนังสือที่เล่าถึงอำนาจจากการมีอยู่ของภาษาและวรรณกรรม พร้อมถอดรื้อวิเคราะห์ที่มาเชิงประวัติศาสตร์ของภาษาและวรรณกรรมไทยโดย สุจิตต์ วงษ์เทศ ที่เชี่ยวชาญด้านปัญหาของความเป็น “ไทย” ในจุดตัดของนิยาม มายาคติ และการวิเคราะห์ประวัติศาสตร์นิพนธ์
เมื่อบรรดานางฟ้าพักผ่อน วรรณกรรมเยาวชนแปลจากภาษารัสเซียที่อบอวลไปด้วยแรงฝันปรารถนาและความนึกคิดในจิตใจของทั้งเด็กและผู้ใหญ่ที่มีทั้งความรู้สึกต่อต้าน เห็นด้วย มีทั้งความเข้าใจและไม่เข้าใจ เป็นคนสองช่วงวัยที่ต่างกำลังสวมบทบาทและวุ่นวายอยู่กับหน้าที่ในตำแหน่งแห่งหนของตัวเอง
อับดุลราซัค กูร์นาห์ นักเขียนรางวัลโนเบล สาขาวรรณกรรม ประจำปี 2021 จากผลงานการเขียนที่ล้วนสะท้อนให้เห็นถึงผลกระทบของการล่าอาณานิคมและชะตากรรมของผู้ลี้ภัย ซึ่งส่วนหนึ่งมาจากประสบการณ์ตรงของตัวเขาเอง
ในบรรดาวรรณกรรมเยาวชนชุดคลาสสิกของโลกนั้น Little Women โดย ลุยซา เมย์ อัลคอตต์ (Louisa May Alcott หรือ L.M. Alcott) คือวรรณกรรมเรื่องเยี่ยมที่เจาะลึกลงไปในหัวใจของผู้หญิงหลายยุคสมัย พร้อมการตั้งคำถามถึงมุมมองการใช้ชีวิตของผู้หญิงในแบบที่วรรณกรรมกว่า 150 ปีก่อนไม่ได้พูดถึงมากนัก
ในประวัติศาสตร์วรรณกรรมไทยนั้นปฏิเสธไม่ได้ว่านามปากกา ทมยันตี หรือชื่อจริง คุณหญิงวิมล ศิริไพบูลย์ เป็นนามปากกาของนักเขียนนวนิยายที่ส่งอิทธิพลต่อผู้อ่านมากที่สุดคนหนึ่งแห่งยุค โดยเฉพาะนักอ่านผู้หญิงที่ชอบนวนิยายแนวโรแมนติกพาฝัน
ความรักมักถูกเปรียบเปรยเพื่อการสร้างความเข้าใจ อุปมาของห้วงแห่งความรักเป็นได้ตั้งแต่สถานการณ์ในชีวิตประจำวันไปถึงการถูกแปรเป็นงานศิลปะ ภาพยนตร์ ดนตรี และที่คุ้นเคยที่สุดคือ อุปมาความรักในโลกของวรรณกรรม ดั่งวรรณกรรมไทยร่วมสมัย 3 เรื่อง ที่เราขอชวนมาอ่าน “ทฤษฎีรัก” ที่ซ่อนอยู่ในตัวอักษรเหล่านั้น
ลมพัดมิรู้ล่วงหน้า : จารึกโรงสีลูกจีนโพ้นทะเล หนังสือเล่มล่าสุดจากสำนักพิมพ์สารคดี แม้ว่าหนังสือเล่มนี้อาจจัดอยู่ในหมวดสารคดี/ประวัติศาสตร์ แต่ด้วยกลวิธีทางวรรณกรรมของ สุกัญญา หาญตระกูล ทำให้หนังสือเล่มนี้ไม่เพียงเป็นการรวบรวมข้อมูลหลักฐานหรือการวิเคราะห์ประวัติศาสตร์ แต่เป็นการร้อยเรียงเรื่องราวในรูปแบบวรรณกรรมเชิงความทรงจำ (Memoir)