Tag: วรรณกรรมไทย
ช่องว่างระหว่างความหมาย : นวนิยายสั้นว่าด้วยการแปล การเมือง และเรื่องขี้ๆ

ต้นฉบับม้วนกระดาษพิมพ์ดีดของ ภู่มณี ศิริพรไพบูลย์ กลับมาอีกครั้งใน ช่องว่างระหว่างความหมาย โดยสำนักพิมพ์เม่นวรรณกรรม นวนิยายขนาดสั้นที่ยังคงเอกลักษณ์การเล่าเรื่องเชิงสมจริงและการแสดงให้เห็นถึงมุมมองของตัวละครที่เป็นผลผลิตแห่งยุคร่วมสมัยของสังคมไทย

คนดีตายหมดแล้ว : ศีลธรรมที่หักมุมได้สไตล์ สรจักร

คนดีตายหมดแล้ว หนังสือรวมเรื่องสั้นของ สรจักร นักเขียนที่มีสไตล์โดดเด่นในการสร้างสรรค์เรื่องราวระทึกขวัญแบบหักมุมจบ จนกลายเป็นลายเซ็นที่สร้างชื่อในเอกลักษณ์ของการหลอกล่อให้ผู้อ่านดิ่งไปกับการเล่าเรื่องที่ชวนติดตามเพื่อที่จะพบว่าในท้ายที่สุดทุกสิ่งที่เชื่อถือมาล้วนเป็นความลวงที่พร้อมจะพลิกความเชื่อนั้นให้กลายเป็นอีกสิ่ง

อ่าน ทมยันตี จากวงวรรณกรรมพาฝัน สู่ความทรงจำในบันทึก 6 ตุลา

ในประวัติศาสตร์วรรณกรรมไทยนั้นปฏิเสธไม่ได้ว่านามปากกา ทมยันตี หรือชื่อจริง คุณหญิงวิมล ศิริไพบูลย์ เป็นนามปากกาของนักเขียนนวนิยายที่ส่งอิทธิพลต่อผู้อ่านมากที่สุดคนหนึ่งแห่งยุค โดยเฉพาะนักอ่านผู้หญิงที่ชอบนวนิยายแนวโรแมนติกพาฝัน

“ทฤษฎีรัก” ใน วรรณกรรมไทยร่วมสมัย หากไม่ใช่เรื่องหัวใจ รักเป็นสิ่งใดได้อีก

ความรักมักถูกเปรียบเปรยเพื่อการสร้างความเข้าใจ อุปมาของห้วงแห่งความรักเป็นได้ตั้งแต่สถานการณ์ในชีวิตประจำวันไปถึงการถูกแปรเป็นงานศิลปะ ภาพยนตร์ ดนตรี และที่คุ้นเคยที่สุดคือ อุปมาความรักในโลกของวรรณกรรม ดั่งวรรณกรรมไทยร่วมสมัย 3 เรื่อง ที่เราขอชวนมาอ่าน “ทฤษฎีรัก” ที่ซ่อนอยู่ในตัวอักษรเหล่านั้น

แพรพลอย วนัช นักเขียนหญิงหนึ่งเดียวผู้เข้ารอบสุดท้าย ซีไรต์ปี 2563

แพรพลอย วนัช เป็นนักเขียนหญิงเพียงคนเดียวผู้เข้ารอบสุดท้ายซีไรต์ปี 2563 กับผลงานรวมเรื่องสั้นชุด •24 ชั่วโมง จับประเด็นความรุนแรงในบ้าน การกดขี่เพศที่ด้อยกว่า และความอยุติธรรมในสังคม

คืนปีเสือ โดย จเด็จ กำจรเดช คว้าซีไรต์ 63 ดับเบิลซีไรต์คนที่ 5 ของไทย

คืนปีเสือ และเรื่องเล่าของสัตว์อื่น ๆ โดย จเด็จ กำจรเดช สามารถคว้ารางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน หรือ ซีไรต์ ประจำปีพุทธศักราช 2563 เป็นดับเบิลซีไรต์คนที่ 5 ของเมืองไทย

เคาะประตู ‘บ้าน’ ดับเบิลกวีซีไรต์ อังคาร จันทาทิพย์

อังคาร จันทาทิพย์ กวีหนุ่มจากกลุ่มกวีหน้ารามฯ วัย 45 ปี นำผลงานรวมบทกวี ระหว่างทางกลับบ้าน สร้างประวัติศาสตร์เป็นดับเบิลซีไรต์คนที่ 4 ให้กับแวดวงน้ำหมึกของไทย และเป็นดับเบิลกวีซีไรต์คนแรก

ลูกอีสาน : ซีไรต์เรื่องแรกของไทย มหากาพย์สัจนิยมแห่งอาหารท้องทุ่งอีสาน

ลูกอีสาน โดย คำพูน บุญทวี ซีไรต์คนแรกของไทย ได้รับการยกย่องว่าเป็นงานวรรณกรรมแนวสัจนิยม ที่่เสนอภาพให้ความรู้สึกเหมือนจริง คุณค่าของวรรณกรรมแนวนี้ถือเป็นการบันทึกหลักฐานด้านวิถีชีวิต สังคม และวัฒนธรรม

รินศรัทธา กาญจนวดี : กวีผู้ใช้หัวใจแทนดวงตาอันมืดมิด

รินศรัทธา กาญจนวดี กวีผู้สูญเสียดวงตา เจ้าของผลงาน ทุกขณะกระจ่างชัดสัมผัสใจ หนึ่งในหนังสือบทกวีที่เข้ารอบ Shortlist 8 เล่มสุดท้ายรางวัลซีไรต์ประจำปี 2562