นิทรรศการ Monet & Friends Alive in Bangkok จัดแสดงผลงานศิลปะกว่า 3,500 ภาพของศิลปินในยุคอิมเพรสชันนิสม์ (Impressionism) ที่มีจุดกำเนิดในช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ในประเทศฝรั่งเศส จำนวน 15 คนนำโดย โคลด์ โมเนต์ (Claude Monet) ในรูปแบบดิจิทัลอิมเมอร์ซีฟบนจอแบบพาโนรามา 360 องศา
ด้วยรัฐและสัตย์จริง หนังสือที่ว่าด้วยระบอบอารมณ์ความรู้สึกนึกคิด จริยธรรมแห่งรัฐ และความซื่อสัตย์ที่ผันแปรตามประวัติศาสตร์ช่วงต่างๆ ของไทย เขียนโดย อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์ นักวิชาการที่มีผลงานน่าสนใจอย่าง การเปลี่ยนแปลงโลกทัศน์ของชนชั้นผู้นำไทยตั้งแต่รัชกาลที่ 4 ถึงพุทธศักราช 2475 มาจนถึง ลืมตาอ้าปาก จาก "ชาวนา" สู่ “ผู้ประกอบการ"
ชวนไปเปิดไทม์ไลน์ชีวิตฉบับ เจ. โรเบิร์ต ออพเพนไฮเมอร์ นักวิทยาศาสตร์คนสำคัญของโลกที่ได้รับฉายาว่าเป็น บิดาแห่งระเบิดปรมาณู ตั้งแต่ความสนใจในวัยเยาว์ ชีวิตนักวิทยาศาสตร์ที่รุ่งเรือง ไปจนถึงช่วงชีวิตที่ถูกไต่สวน
พาทัวร์ Storybook Mansion บ้านเก่าของผู้ก่อตั้งดิสนีย์ที่ประกาศให้เช่าในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2023 บริหารจัดการโดยบริษัท Compass ตัวแทนอสังหาริมทรัพย์ชื่อดังในฮอลลีวูด ราคาให้เช่าราว 1.4 แสนบาทต่อเดือน
ชวนไปย้อนรอยแรงบันดาลใจของ เวส แอนเดอร์สัน ผู้กำกับที่มีลายเส้นที่ชัดเจนเช่น ตัวละครแสนเศร้าในโลกสีสันสดใส มาดูกันว่าแต่ละสิ่งรอบตัวเขามีผลต่อการสร้างสรรค์งานชิ้นล่าสุด Asteroid City อย่างไรบ้าง
การผจญภัยของเด็กผู้ปฏิเสธการเติบโตในตำนานนาม ปีเตอร์ แพน กลับมาอีกครั้งใน Peter Pan & Wendy ที่ครั้งนี้พ่วงชื่อ เว็นดี้ เด็กสาววัยกำลังเติบโตที่มีแนวคิดเดียวกันมาร่วมการผจญภัยครั้งใหม่และอาจเป็นการผจญภัยครั้งสุดท้ายแห่งเนเวอร์แลนด์ โดยในฉบับภาพยนตร์ครั้งนี้ได้วิสัยทัศน์ของ เดวิด โลเวอร์รี มานั่งแท่นผู้กำกับฯ และตีความ ปีเตอร์ แพน ที่มีรากฐานตัวละครจากวรรณกรรมต้นฉบับของ เจ.เอ็ม. แบร์รี (J.M. Barrie)
เศษเสี้ยวแห่งสัจจะ (Fragments) หนังสือรวบรวมเสี้ยวข้อความที่หลงเหลืออยู่จากนิพนธ์ของ เฮราไคลคัส (Heraclitus) ปรัชญาเมธียุคก่อน โสกราตีส ที่มีชีวิตอยู่ระหว่าง 536-475 ปีก่อนคริตสกาล โดยงานเขียนของ เฮราไคลตัส โดดเด่นด้วยข้อเสนอเชิงอภิปรัชญาที่มุ่งเน้นสังเกตการเปลี่ยนแปลงของสรรพสิ่ง
ศิลปะแห่งการผัดวันประกันพรุ่ง (The Art of Procrastination) โดย จอห์น เพอร์รี (John Perry) นักเขียน นักปรัชญา และศาสตราจารย์แห่งมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ผู้ศึกษาทฤษฎีการผัดวันประกันพรุ่งแบบมีโครงสร้างจนทำให้เขาคว้ารางวัลอิกโนเบล สาขาวรรณกรรม ประจำ ค.ศ. 2011 และกลายมาเป็นหนังสือฮาวทูแบบฉบับคนขี้เกียจเล่มนี้
23 เมษายน ของทุกปีถูกกำหนดให้เป็น วันหนังสือโลก หรือ World Book Day จุดเริ่มต้นของวันนี้มาจากวันตายของนักเขียนดังชาวสเปน “มิเกล เด เซรบานเตส” เจ้าของบทประพันธ์นวนิยายคลาสสิกอัศวินนักฝัน “ดอน กิโฮเต้ (Don Quixote)”